RSS

งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

24 Mar


วันที่ : 24 มี.ค. 2554
เวลา : 8.00-10.00
สถานที่ : ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้ฝึกงาน : รัตนา ห้วยหงษ์ทอง

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นกระบวนการสรรหาทรัพยากรสารสนเทศด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้ทรัพยากรที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และนโยบายของห้องสมุด ซึ่งการที่ห้องสมุดจะสามารถให้บริการได้ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีรากฐานมาจากการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม จึงจะสามารถให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ดี

หลักการและเหตุผล
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 600,000 บาท ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ในปี 2554 นั้น ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ได้วางแผนการใช้งบประมาณในการจัดหา โดยเน้นลำดับความสำคัญในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฉพาะสาขาวิชาที่สนองภารกิจหลักปัจจุบันของ สวทช. และความทันสมัย

วัตถุประสงค์ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

  1. จัดหาทรัพยากรสารสนเทสทั้งประเภทสิ่งตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุน เน้นการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยของชุมชนนักวิจัย สวทช.
  2. รวบรวมสิ่งพิมพ์มุ่งเน้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. วางแผนและควบคุมการใช้งบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับ

เกณฑ์การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเพื่อจัดซื้อ
หลักเกณฑ์/สัดส่วน กระบวนการคัดเลือกประเภทหนังสือ

  1. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 60
  2. สาขานโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สาขาการบริหารจัดการ (ค่านิยมหลัก สวทช., การบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / บริหารทั่วไป / ทรัพย์สินทางปัญญา) ร้อยละ 20
  3. สาขาอื่นๆ ร้อยละ 20

วิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คือการจัดซื้อและการรับบริจาค

วิธีการลงรายการจัดซื้อจัดหาหนังสือในระบบ koha

  1. เข้า Koha หน้า Administrator ที่ http://library.stks.or.th:8001 แล้วล็อกอินรหัสพนักงาน (พนักงานแต่ละคนมีสิทธิเข้าถึงแต่ละโมดูลต่างกัน โดยอิงตามสายงานที่รับผิดชอบ)
  2. ตรวจสอบว่ามีหนังสือเล่มนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือไม่ โดยการเข้าไปที่เมนู  Advance Search 
  3. จากนั้นค้นจาก ISBN เพราะสามารถเฉพาะเจาะจงหนังสือเล่มนั้นๆได้ดีที่สุด
  4. หากตรวจสอบพบว่าไม่มีหนังสือเล่มนั้นในห้องสมุด ให้เข้าไปที่เมนู Acquisitions เพื่อทำการลงรายการเบื้องต้นต่อไป
  5. ค้นหาชื่อสำนักพิมพ์หรือตัวแทนจำหน่ายที่ Supplier ID or Name ตัวอย่างเช่น บริษัท Leader and Reader
  6. จากนั้นคลิกที่ Add Order
  7. จากนั้นคลิกที่ New Record
  8. กรอกรายละเอียดของหนังสือเล่มนั้นๆที่จัดซื้อเข้ามา และต้องใส่เลขใบเสนอราคาที่ช่อง Invoice Number ด้วย แล้วจึงกด submit
  9. จากนั้นระบบจะแสดงผลหนังสือเล่มนั้นบนเว็บเพจ ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ แล้วกลับไปใส่เลข Invoice number อีกครั้ง แล้วกด Submit
  10. คลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์ เพื่อไปยังหน้าจอบอกรับหนังสือ แล้วคลิกที่ Receive เพื่อบอกรับหนังสือ กรอกเลข Invoice number ลงไป
  11. ไปที่เมนู Cataloging แล้วใส่ชื่อหนังสือเพื่อค้นหา แล้วคลิก Edit MARC
  12. ไปที่ Tag 900 เลือก Type of Source เป็น หนังสือ แล้วคลิก save
  13. กลับไปที่หน้าเดิมแล้วเลือก location เป็นศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของและเพื่อให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นอยู่ที่ใด
  14. จากนั้นเปลี่ยนสถานะของหนังสือเป็น  “อยู่ระหว่างการลงรายการ” รวมถึงใส่เลขตู้ที่จะจัดเก็บหนังสือทีช่อง Itemcallnumber
  15. จดเลข Bib ที่ได้จากกระบวนการลงทะเบียนสอดไว้กับตัวเล่ม เป็นอันเรียบร้อย

แหล่งข้อมูลที่ใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกปฏิบัติงาน
– หนังสือใหม่สำหรับลงรายละเอียดใน koha
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ koha

 

Tags: , , , ,

Comments are closed.